วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ลิ่นทะเล




ลิ่นทะเล





          ลิ่นทะเลเรียกอีกอย่างว่า หอยแปดเกล็ด”  จัดเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่มหรือมอลลัสเช่นเดียวกับหอยและหมึกทั่วไป  รูปร่างคล้ายกับทากดิน  ไม่มีส่วนหัวและห่างที่ชัดเจนลำตัวเป็นรูปไข่  ด้านบนโค้งนู้น  และมีเปลือกคล้ายเกล็ดจำนวน 8 แผ่นเรียงซ้อนกันจากด้านหน้าไปยังด้านท้ายคล้ายกระเบื้องมุงหลังคายกเว้นบางชนิดเกล็ดอาจเรียงต่อกันเป็นแถวๆรอบๆเกล็ดเป็นแมนเทิลที่ปกคลุมด้วยหนามสั้นๆ  ด้านล่างตรงกลางมีกล้ามเนื้อเท้ารูปไข่เป็นพื้นแบนเรียบช่วยในการเคลื่อนที่  ปากของลิ่นทะเลอยู่ด้านหน้า  ภายในปากมีแผ่นลิ้นใช้ในการขูดสาหร่าย  ไลเคนซ์กินอาหาร  ที่อยู่ของลิ่นทะเลสามารถพบได้ตามโขดหินริมชายฝั่งทะเลและรอบเกาะ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518) 










   

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หนอนดอกไม้ทะเล




หนอนดอกไม้






             หนอนดอกไม้เป็นหนอนปล้องที่มีลำตัวเป็นท่อนยาวแบ่งออกเป็นปล้องชัดเจน  มีการสร้างหลอดด้วยตะกอนดินหรือเศษวัสดุเล็กๆตามพื้นทะเล  บางชนิดสกัดสารออกมาละลายหินปะการังแล้วฝังตัวอยู่ภายใน  ช่อพู่ขนของหนอนดอกไม้หลายชนิดมีสีสันสวยงาม  หลากสี  นอกจากพู่ขนแล้วหนอนดอกไม้บางชนิดมีงวงยื่นออกมาจากหลอดทำหน้าที่ปิดปากหลอดขณะที่หดตัวเอาพู่ขนหลบเข้าไปข้างใน  การทำงานของงวงปิดหลอดนี้มีรูปแบบคล้ายกับหอยกาบเดี่ยวที่มีแผ่นฝาปิดปาก  เมื่อหดตัวเข้าไปอยู่ภายในเปลือก  หนอนดอกไม้เป็นสัตว์แยกเพศ  การปฏิสนธิระหว่างเสปิร์มกับไข่เกิดภายนอกลำตัวโดยการผสมกันในน้ำทะเล  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518) 


เเม่เพรียง



แม่เพรียง




          เป็นหนอนปล้องที่มีลำตัวเรียวยาว  ร่างกายค่อนข้างแบนออกเป็นปล้องจำนวนมาก  ด้านหน้ามีลักษณะคล้ายหัวโดยมีปากและเขี้ยว 1 คู่ที่ปาก  มีอวัยวะรับสัมผัสคล้ายหนวด  ถัดจากหัวและลำตัวมีลักษณะเป็นปล้องขนาดเท่าๆกัน  อาหารที่แม่เพียงชอบกินได้แก่สาหร่ายทะเล  เศษอินทรีย์ตามพื้นทะเล  แม่เพรียงเป็นสัตว์แยกเพศแต่ละตัวมีเพียงเพศเดียวโดยอาจมีการเปลี่ยนรูปร่างและสีของลำตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์  บางชนิดมีการปล่อยร่างกายตอนปลายที่มีเซล,สืบพันธุ์ให้หลุดขาดออกไปทำให้เซลล์สืบพันธ์ผสมกันในน้ำทะเล  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518) 

ปากกาทะเล



ปากกาทะเล




          มีลักษณะใกล้เคียงกับปะการังอ่อน  ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเช่นเดียวกับกัลปังหาและปะการังอ่อน  ด้านล่างเป็นด้ามใช้สำหรับฝังลงในพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน  หรือโคลนปนทราย  ส่วนบนที่อยู่ของโพลิบรูปร่างเป็นทรงกระบอก  สามารถยืดหดตัวจากเนื้อเยื่อของโคโลนีเพื่อจับเหยื่อ  แต่ละโคโลนีมีโพลิปหรือตัวปากกาทะเลนับร้อยตัว
          ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลโดยเฉพาะบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลผ่านเพราะโพลิปจะได้รับแพลงตอนที่พัดพากับกระแสน้ำและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ  ปากกาทะเลมีคุณสมบัติพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ  ความสามารถในการเรืองแสงได้ในที่มืด  การเรืองแสงอาจเกิดเป็นบางส่วนหรือเกิดพร้อมกันทั้งโคโลนีก็ได้  ด้วยเหตุนี้ท้องทะเลบางพื้นที่ที่มีปากกาทะเลอาศัยอยู่  จึงอาจมีแสงเรืองคล้ายไฟใต้น้ำส่องสว่างด้วย ปากกาทะเลนั้นไม่สามารถนำมาบริโภคได้จึงถูกนำไปทำอาหารสัตว์ปะปนกับปลาเป็ด  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518) 



กัลปังหา



กัลปังหา


         


          กัลปังหา  กัลปังหาเป็นสัตว์ทะเลพวกเดียวกับปะการัง  ทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีแตโพลิปมีหนวดแปดเส้นรอบปาก  หนวดแต่ละเส้นมีแขนงแตกออกคล้ายใบปรงหรือเฟริ์น  กัลปังหากินแปลงตอนเป็นอาหาร  โดยใช้หนวดรวบใส่ปากตรงกลาง  การย่อยเกิดในกระเพาะที่มีลักษณะเป็นถุง  หลังจากย่อยแล้งกากอาหารจะถูกคายออกทางปาก  กัลปังหานั้นจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำเท่านั้นเพราะต้องการยึดเกาะกับพื้นแข็งแต่จะไม่สามารถงอกอยู่ที่พื้นทรายหรือโคนได้  และการที่กัลปังหามีการแตกกิ่งก้านออกไป  สัตว์หลายชนิดจึงมักมาอาศัยพึงพาอยู่กับกัลปังหา เช่นปลาสลิดหินขนาดเล็ก  ใช้เป็นที่หลบกำบังศัตรู  หอยสองกาบใช้กัลปังหาเป็นที่ยึดเกาะ  ดาวตาข่าย  ดาวขนนก  กุ้งขนาดเล็ก  ใช้กัลปังหาเป็นที่เกาะสำหรับคอยดักจับอาหารที่ลอยมากับน้ำ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518) 

ดอกไม้ทะเล



ดอกไม้ทะเล




               ดอกๆไม้ทะเลจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก  มีหนวดจำนวนมากเรียงรายกันอยู่ด้านบน  ส่วนทางด้านล่างเป็นฐานใช้ยึดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำ  ขนาดของดอกไม้ทะเลแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันตั้งแต่ตัวเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่าครึ่งเมตร  อาหารของดอกไม้ทะเลได้แก่  ปลาหรือสัตว์ทะเลชนิดอื่นที่ว่ายเข้ามาในระยะที่หนวดจับได้  ดอกไม้ทะเลจะปล่อยนีมาโตซีสออกมาทำให้เหยื่อสลบ  แล้วรวบเข้าปากที่อยู่ตรงกลาง  ดอกไม้ทะเลนั้นจะมีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน  บางชนิดที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะมีความทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงความชื้น  ความเค็มและอุณหภูมิรวมทั้งความสามารถในการอยู่บนบกได้เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงขณะที่น้ำทะเลลดลงด้วย  เราจึงมักพบดอกไม้ทะเลเกาะอยู่ตามก้อนหินริมชายฝั่งโดยหดตัวเป็นก้อนกลม  เพื่อรอให้น้ำทะเลท่วมบริเวณที่อาศัยอยู่อีกครั้งหนึ่ง
                ดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสาหร่ายอาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื้อทั้งลำตัวและหนวด  จึงทำให้มีสีเขียวการอยู่รวมกันนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์  เพราะสาหร่ายมีคลอโรฟิลสามารถสังเคราะห์แสงได้   ซึ่งผลจากการสังเคราะห์แสงนั้นจะได้แป้งและออกซิเจน  ดอกไม้ทะเลสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ  ส่วนสาหร่ายนอกจากจะมีที่อยู่อาศัยแล้ว  ยังสามารถนำเอาของเสียจากการขับถ่ายของดอกไม้ทะเลเป็นแร่ธาตุไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต  ดอกไม้ทะเลขนาดใหญ่มักเป็นที่อยู่อาศัยของปลาการ์ตูนและปลาอินเดียแดงและปลาสลิดหินหลายชนิด  เพราะหนวดของดอกไม้ทะเลมีพิษนีมาโตซีสใช้ฆ่าเหยื่อหรือศัตรูได้  ยกเว้นปลาที่อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลเท่านั้นที่สร้างเมือกออกมาคลุมลำตัว  สามารถป้องกันพิษจากดอกไม้ทะเลได้
                ดอกไม้ทะเลบางชนิดอาศัยอยู่กับปูเฉฉวนหรือปูป้  เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่ปูยอกให้ดอกไม้ทะเลเกาะอยู่บนหลัง  ดอกไม้ทะเลจะทำหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยด้านหลัง  เพราะสัตว์ผู้ล่ามักไม่กล้าเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล  ทำให้ปูปลอดภัยส่วนดอกไม้ทะเลได้รับประโยชน์ในการย้ายที่อยู่เพื่อหาอาหาร  และหลีกเลี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  ดอกไม้ทะเลมีการสืบพันธุ์ได้สองวิธีคือ  แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสองตามความยาวจากฐานหนวดลงไปยังฐานยึดเกาะด้านล่างและการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ  โดยดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสองเพศอยู่ภายในตัวเดียวกัน  หรือแยกเป็นตัวผู้และตัวเมีย  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518) 

เเมงกะพรุน



แมงกระพรุน





          แมงกะพรุนทั่วโลกมีอยู่  200 ชนิด  เป็นสัตว์มีโพรงในลำตัว  ร่างกายประกอบไปด้วยน้ำส่วนใหญ่ ลักษณะคล้ายก้อนวุ้นเคลื่อนที่ได้  แต่การว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่ของแมลงกระพรุนเป็นไปอย่างเชื่อช้าและว่ายไปตามกระแสน้ำสุดแต่คลื่นลมจะพาไป  แมงกะพรุนถูกจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่งและนับเป็นแพลงตอนขนาดใหญ่  บางตัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 40 เซนติเมตร  การที่แมงกะพรุนดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนและล่องลอยไปตามคลื่นลมนี้เอง  ช่วงฤดูร้อนที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ภาคตะวันออกของอ่าวไทย  จึงมีแมงกะพรุนชุกชุมอยู่ตามชายทะเลแถบภาคตะวันออกดังนั้นการเล่นน้ำตามสถานตากอากาศแถบบางแสน  พัทยา  ระยอง  จึงอาจถูกแมงกะพรุนไฟได้  รูปร่างแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม ทางด้านนอกของร่มเป็นรูปโค้งผิวเรียบ  ด้านใต้มีปากอยู่ตรงกลางและมีส่วนยื่นรอบปากออกไป  แมงกะพรุนทุกชนิดมีพิษพบมากบริเวณหนวดและส่วนยื่นรอบปาก    เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยการสัมผัส  เข็มพิษจะถูกปล่อยออกมาคล้ายฉมวกพุ่งแทงเข้าไปที่ผิวหนังของเหยื่อหรือศัตรู  น้ำพิษที่อยู่ภายในกระเปาะอาจทำให้เหยื่อขนาดเล็กสลบและตายได้    ตามปกติแมงกะพรุนเป็นสัตว์กินเนื้อ  อาหารที่กินได้แก่  ปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อาศัยตามผิวทะเลโดยแมงกะพรุนใช้เข็มพิษฆ่าเหยื่อ  และรวบจับใส่ปากเข้าไปย่อยภายในท่อทางเดินอาหาร  ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้จะถูกคายทางปาก   แมงกะพรุนส่วนใหญ่มีเพศแยกกันเป็นตัวผู้และตัวเมีย  แต่ต่างจากรูปร่างภายนอกไม่ปรากฏลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจน  การผสมพันธุ์เกิดโดยตัวผู้สร้างเสปิร์มส่งออกไปผสมกับไข่ตัวเมีย  หรืออาจเป็นการผสมกันภายนอกลำตัว  ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญพัฒนาเป็นตัวอ่อน  ดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนชั่วคราว  แล้วจากนั้นจะว่ายไปเกาะพื้นเปลี่ยนรูปร่างเป็นโพลิปสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวออกเป็นชั้นๆ  หลุดไปเป็นแมงกระพรุนตัวเล็กๆแล้วเติบโตเป็นตัวเต็มไว้ในเวลาต่อมา  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)